นาวาอากาศเอก เกษม งามเอก และคณะรวม ๑๑ คน เป็นผู้สร้างถวายในปี ๒๕๑๓ ด้านหลังเหรียญเป็นพระคาถา “พุทฺโธ อรหํ ธมฺโม อรหํ สงฺโฆ อรหํ” ล้อมรอบ ๘ คาบและตรงกลาง ๓ แถว (๑ คาบ) รวมเป็น ๙ คาบ จำนวนที่สร้างเป็นเนื้อทองแดง ๓,๐๐๐ เหรียญ และเนื้อเงิน ๑๑ เหรียญ สำหรับผู้จัดสร้างคนละเหรียญ
สำหรับบล็อคด้านหลังจะมี ๒ บล็อค คือบล็อคแรกอักขระไม่ชัด และบล็อคสองอักขระชัด
บล็อคแรกอักขระไม่ชัด เกิดจากการปั๊มเหรียญไปได้จำนวนหนึ่ง อักขระยันต์ด้านหลังตรงกลางเริ่มล้ม และไม่ชัด แต่บางเหรียญของบล็อคนี้ยันต์จะชัด เพราะปั๊มออกมาเป็นเหรียญแรกๆ
บล็อคสอง จุดสังเกตคือจะมีเส้นขีดเล็กๆใต้อักขระตามรูปขยาย ส่วนเส้นสายฝนที่วิ่งเฉียงอยู่ด้านบนซ้ายมือของเหรียญ บางเหรียญจะไม่ปรากฏเส้นนี้ และเส้นสายฝนนี้ก็ไม่ปรากฏในเหรียญรุ่นทอ.๒ แม้จะนำบล็อคเดียวกันไปปั๊มก็ตาม เข้าใจว่าระหว่างปั๊มเหรียญไปน่าจะมีการแต่งบล็อคไปด้วย โดยเฉพาะก่อนนำไปปั๊มเหรียญทอ.๒
ภายหลังจากที่เหรียญรุ่น ทอ.๑ ออกมาในปี ๒๕๑๓ และมีผู้ศรัทธาทำบุญจนหมดลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับทางวัดยังต้องการปัจจัยมาก่อสร้างศาลาการเปรียญที่ยังคงค้างอยู่ ทางคณะกรรมการจึงได้ติดต่อกับทางคณะทหารอากาศซึ่งนำโดยนาวาอากาศเอก เกษม งามเอก ทำการจัดสร้างเหรียญกลมรุ่น ๒ ขึ้น โดยใช้บล๊อคแม่พิมพ์เดิม แต่เปลี่ยนเพียงแนวของยันต์ด้านหลังจากแนวนอนเป็นแนวตั้ง จำนวนที่สร้างเนื้อทองแดง ๓,๐๐๐ เหรียญ เนื้อเงิน ๑๑๔ เหรียญ โดยเนื้อเงินจะมีการตอกเลข "9" ไว้ด้านหลัง สมัยนั้นให้บูชาออกจากวัดเหรียญทองแดง ๒๐ บาทและเหรียญเงิน ๑๐๐ บาท
หลักการพิจารณาเหรียญทอ.๒ สามารถใช้หลักการพิจารณาเดียวกับเหรียญทอ.๑ ได้ โดยเฉพาะเส้นเฉียงบนพื้นผิวเหรียญ (หัวข้อที่ ๔) ซึ่งจะเกิดในเหรียญทอ.๒ ส่วนด้านหลังเหรียญเป็นบล็อค ๒ ของเหรียญทอ.๑ แต่เปลี่ยนแนวการวางเท่านั้น ส่วนตัวตัดเรียกว่าบังเอิญใกล้เคียงกันจะดีกว่า
ส่วนเหรียญเงินมีการตอกโค๊ดเลข “9” ด้านหลังเหรียญ ทำให้ง่ายต่อการพิจารณา แต่จุดสังเกตอีกอย่างหนึ่งของเนื้อเงินทั้งรุ่น ทอ.๑ และ ๒ คือเหรียญเงินจะบางกว่าทองแดง
เหรียญหลวงปู่แหวน รุ่นที่ทางคณะทหารอากาศสร้าง ที่เรามักเรียกติดปากว่า ทอ.1 กับ ทอ.2 สร้างปี 13 กับ 14 ตามลำดับ ในช่วงปีนี้เข้าใจว่าคนยังนิยมแขวนพระแบบไม่มีเลี่ยมพลาสติค เราจึงพบเหรียญสภาพใช้สึกเยอะพอสมควร ในทางกลับกัน เหรียญสภาพสวยๆก็ค่อนข้างหายากพอสมควร นับเป็นเหรียญหลักของหลวงปู่เลยทีเดียว รุ่นนี้ไม่มีกล่องนะครับ
ในคลิปผมจะลงไว้ทั้ง ทอ.1 และ 2 เพราะใช้บล็อคเดียวกัน ดูรวมๆแล้วยังสามารถใช้จุดสังเกตหลักๆด้วยกันได้ ตัวตัดก็มีความใกล้เคียงกันในหลายๆจุด จะมีความแตกต่างก็รายละเอียดปลีกย่อยที่มาจากการแต่งบล็อคไประหว่างการปั๊ม นิดๆหน่อยๆ
ในเหรียญสภาพไม่ผ่านการใช้ จะเห็นเส้นริ้วๆบนผิวเหรียญทั่วทั้งหน้าหลังเหรียญ ในคลิปจะเห็นได้ชัดครับ
อย่างไรก็แล้วแต่ ในหนังสือผมลงไว้พอเป็นสังเขป ลองไปอ่านตามลิงค์ด้านล่างได้ครับ
https://www.facebook.com/872507106154845/posts/4589661317772720/
ฝากกดติดตามในช่อง youtube ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
พรหลวงปู่ พระเครื่อง
13 กรกฎาคม 2021
เหรียญทอ.ไม่ว่า 1 หรือ 2 ปัจจุบันยังไม่มีเก๊ปาดคอเซียนออกมานะครับ จุดให้ดูง่ายๆก็ยังมีแค่ตรงบริเวณใบหน้าหลวงปู่แค่นี้ก็ได้ละนะ
สภาพใช้สึกหรือขอบล้มหมดแล้วก็อ้างอิงจากรูปนี้ได้เลย ส่วนที่ไม่สึกเช่นใบหู ขอบตา ก็ยังมีให้สังเกตได้ หมั่นสังเกต
แต่อนาคตไม่แน่ อาจมีเก๊ใหม่ออกมาให้ระวังกันใหม่ ค่อยว่ากันอีกที
พรหลวงปู่ พระเครื่อง
21 มกราคม 2568
เหรียญหลวงปู่แหวน ทหารอากาศสร้างรุ่น 2 (ทอ.2)ปี14
เหรียญทอ.2 คือเหรียญที่ใช้บล็อคยันต์นอนด้านหลังของเหรียญทอ.1 มาเปลี่ยนแนววางเป็นแนวตั้ง โดยจะหมุนแนวยันต์มาทางซ้าย(ทวนเข็มนาฬิกา) แล้วปั๊มออกมาเป็นรุ่นทอ.2 สมัยก่อนเซียนบางคนชอบเรียกว่ารุ่นยันต์นอนหรือยันต์ตั้ง แทนการเรียกรุ่นทอ.1หรือทอ.2 ก็แน่นอนว่ารุ่นนี้มีเก๊ออกมาหลายฝีมือ แต่ดูรวมๆแล้วยังไม่น่ากลัวเท่าไหร่ ยังพอดูที่เส้นในตาของหลวงปู่แล้วแยกแท้เก๊ได้ไม่ยาก
แต่จะมีของเก๊อยู่บล็อคหนึ่งที่ด้านหลังกลับแนวยันต์ไปทางขวา(ตามเข็มนาฬิกา) ตามรูปด้านล่าง ออกมานานแล้วนะครับ เกินสิบปีแล้ว เพราะฉะนั้นตอนนี้อาจจะมีสภาพใช้สึกมาให้เห็นได้ คนขายบางคนอาจบอกว่าเป็นบล็อคยันต์กลับก็ว่ากันไป แต่ถ้าเห็นแนวยันต์แบบนี้ วางไว้ก่อนปลอดภัยดีนะครับ
บันทึกเก๊บล็อคนี้ไว้หน่อย เดี๋ยวจะลืม
บทความจาก social media อื่น ที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อการศึกษาครับ
ขอบคุณทุกๆต้นทางมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
(สามารถสแกน QR เพื่อไปดูโพสต์ต้นทางได้เลยนะครับ ที่ลงแค่ตัวอย่างเท่านั้น)
Www.eamulet.com
20 กันยายน 2017 ·
คณะศิษย์ทหารอากาศ นำโดยนาวาอากาศเอกเกษม งามเอก และคุณวิโรจน์ ตังเดชะหิรัญ มีโอกาสได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ตามคำบอกเล่าของท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่บอกกับคณะศิษย์ของท่านให้หาเวลาไปกราบนมัสการหลวงปู่แหวน ที่จังหวัดเชียงใหม่ คณะศิษย์ดังกล่าวจึงได้เดินทางไปกราบนมัสการ และได้มีโอกาสกราบขออนุญาต สร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2513 โดยมีการออกแบบเหรียญรูปเหมือนครึ่งองค์ และด้านหลังบรรจุคาถา “พุทโธ อรหัง ธัมโม อรหัง สังโฆ อรหัง” 9 จบ บรรจุไว้ โดยผู้ที่เขียนยันต์และช่วงวางอักขระตัวธรรมคือท่านพระอาจารย์สุจินต์ วัดราชบพิธ จากคำบอกเล่าของคุณวิโรจน์ เล่าว่า เป็นการวางอักขระตามชื่อของหลวงปู่คือแหวน เลยมีการวางอักขระเป็นวงกลม ได้ 8 บท เหลืออีกหนึ่งบท เนื้อที่เต็ม เลยนำมาวางไว้ตรงกลางแทน เป็นที่มาของแบบเหรียญด้านหลัง
จำนวนการสร้าง
เนื้อเงิน 11 เหรียญ (หลังมียันต์ 10 เหรียญ หลังเรียบจาร 1 เหรียญ)
เนื้อทองแดง 3,000 เหรียญ ถวายวัดดอยแม่ปั๋ง เพื่อให้หลวงปู่แหวนแจก จำนวน 2,000 เหรียญ
ถวายวัดราชบพิธ กรุงเทพฯ 250 เหรียญ
ถวายวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 250 เหรียญ
ถวายวัดอโศการาม สมุทรปราการ 250 เหรียญ
แบ่งกันในกลุ่มผู้สร้าง 250 เหรียญ
บันทึกไว้เพื่อความรู้และแนวทางการสะสมที่ชัดเจนไม่ได้มีเจตนาเพื่อการซื้อขายแต่อย่างใด
ขอบคุณครับ
ตัวอย่างพระเก๊ครับ